-เหมาะสำหรับรอยต่อที่มีการเคลื่อนตัวหรือบริเวณที่มีการสั่นสะเทือน
-มีการยืดหยุ่นตัวสูง
-ทนทานต่อสภาวะอากาศ แสงแดด
-ใช้ได้ทั้งงานภายในและภายนอก
-ไม่ทำให้เกิดสนิมบนโลหะ
-สามารถทาสีทับได้
คุณสมบัติ
603 POLYURETHANE เป็นวัสดุอุดรอยต่อประเภท โพลียูรีเทน ชนิดองคืประกอบเดียว ใช้งานง่ายมีการยึดเกาะที่ดี
บนพื้นผิวของวัสดุก่อสร้างทั่วไป เช่น คอนกรีต หิน อิฐ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้อง เซรามิค อลูมิเนียม ไม้ กระจก ฯลฯ
ลักษณะการใช้งาน
-ใช้อุดรอยต่อของปผ่นคอนกรีตหล่อสำเร็จ ผนังก่ออิฐฉาบปูน
-ใช้อุดร่องกันแตก รอยต่อโครงสร้าง อุดรอยแตกร้าว เพื่อกันรัวซึม
-ใช้อุดร่องโดยรอบวงกบประตู หน้าต่าง ไม้ อลูมิเนียม สแตนเลส โลหะ
-ใช้อุดรอยต่อของผนังอาคาร ทั้งที่เป็นโลหะ คอนกรีต ปูนฉาบ กระเบื้องแผ่นเรียบ แผ่นผนังสำเร็จรูป
-ใช้อุดรอยต่อกระเบื้องมุงหลังคา
-ใช้ยาแนวกระเบื้องเซรามิค หิน สุขภัณฑ์
ข้อมูลทางเทคนิค
-ลักษณะภายนอก
:ก่อนแห้ง :ครีมข้น
:หลังแห้ง :ลักษณะคล้ายยางยืดหยุ่นได้
-ลักษณะทางเคมี :โพลียูรีเทน
-ความหนาแน่น :1.17
-เวลาแห้งหมาด :2 ชั่วโมง
-อัตราการแข็งตัว :5-10มม.ต่อ 24ชั่วโมง (โดยประมาณ ขึ้นกับสภาพอากาศ)
-ค่าการยึดตัวจนขาด :700%
-ความแข็ง (Shore A) :25 (โดยประมาณ)
-ค่าโมดูลัสของการยืดหยุ่นที่ 100% :0.3MPa
-การไหล :ไม่
ความทนทานต่อสารเคมี UV&Ozone :ดี
น้ำ :ดี
ตัวทำลาย :ปานกลาง
สารไฮโดรคาร์บอน :ปานกลาง
กรด และ ด่าง :ปานกลาง
ข้อแนะนำในการทำงาน
ขนาดคร่อง
-ขนาดความกว้างของร่อง ควรอยู่ระหว่าง 5-50มม.
-สำหรับร่องที่มีการเคลื่อนตัว หรือมีการสั่นสะเทือน ความลึกคงรมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของความกว้าง
การเตรียมพื้นผิว
-บริเวณร่องบนพื้นผิวคอนกรีตหรือปูนฉาบที่ แตกบิ่นเสียหาย ควรซ่อมแซมด้วย 731 LANKOREP STRUCTURE
(ปูนทราย สำหรับซ่อมแซมโครงสร้าง)หรือใช้ปูนทรายผสมด้วย 751 LANKOLATEX (น้ำยาประสานคอนกรีต) หลังจากซ่อม
ต้องทิ้งไว้ให้แห้ง ก่อนทำงานต่อไป
-พื้นผิวต้องแป้ง สะอาดปราศจากฝุ่น คราบน้ำมัน เศษสิ่งสกปรก สี เศษปูนฉาบหรือยิปซั่ม น้ำยา ทาแบบ
-ร่องที่มีความลึกมากเกินขนาดที่ต้องการ ให้ใช้โฟมโพลีเอทธีลีน (LANKO FONDS DE JOINTS Backing)
ใส่ลงไปในร่อง ให้ได้ความลึกตามต้องการ นอกจากนั้นยังเป็นการทำให้ร่อง หรือรอยต่อ สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างอิสระ
-บริเวณขอบร่องทั้ง 2 ข้าง อาจใช้กระดาษกาวปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เปื้อน และให้ได้ปนวร่องที่สวยงาม
ข้อแนะนำในการทำงาน
การทารองพื้น
-เนื่องจาก 603 POLYURETHANE มีการยึดเกาะที่ดีกับพื้นผิว การทารองพื้นจึงไม่มีความจำเป็น อย่างไรก็ตามถ้ามีความจำเป็น
สามารถใช้น้ำยาทารองพื้น (LANKO 608 PU/PS PRIMER)สำหรับพื้นผิวที่มีลักษณะพรุน
การทำงาน
หลอดขนาด 310 มล.
-ให้แกะฝาปิที่ก้นหลอด เพื่อเอาสารกันความชื้นออก
-ตัดปลายหลอดเกลียวออก
-ใส่หัวฉีดและตัดปลายเป็นแนวเฉียง ให้ได้ขนาดตามต้องการ
-ใส่ในปืนยิงกาว ฉีดลงในร่องที่เตรียมไว้ หลอดฟลอยด์ ขนาด 600 มล.
-ตัดปลายหลอดฟลอยด์
-ตัดปลายหัวฉีดเป็นแนวเฉียง ให้ได้ขนาดตามต้องการ
-ใส่ในปืนยิงขนาด 600 มล.ใส่หัวฉีด เปิดฝา ฉีดลงในร่องที่เตรียมไว้
การทำงาน
-หลังจากฉีด 603 POLYURETHANE ลงในร่องจนเต็มให้ใช้นิ้วหรือเกรียงโป๊วจุ่มลงในน้ำสบู่ แล้วลูบบนผิวของ
603POLYURETHANEเพื่อให้เนื้อวัสดุอุดได้เต็ม โดยไม่มีช่องว่างหรือโพรง และยังเป็นการแต่งผิวหน้าให้เรียบสวยงาม
-หลังจากนั้นให้ทิ้งไว้สักครู่ ก่อนดึงกระดาษกาวออก ในขณะที่วัสดุยังไม่แห้ง
ข้อควรระวัง
-อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการทำงาน 5-40 ํซ.
-ไม่ควรทำงานกลางแดดจัด หรือทำงานบนพื้นผิวที่ร้อน
-ห้ามทำงานขณะฝนตก หรือทำงานบนพื้นผิวที่เปียกชื้น
-ลักษณะการเคลื่อนตัวของร่องหรือรอยต่อ ควรได้รับการศึกษาและ ตรวจสอบก่อน
-บนพื้นผิวที่มีลักษณะพรุน เช่น หินอ่อน หินธรรมชาติ ควรทดสอบการยึดเกาะ เพื่อดูว่า การทารองพื้นมีความจำเป็นหรือไม่